เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] 6. ปารายนัตถุติคาถานิทเทส
คำว่า รู้ทั่วถึงอรรถ รู้ทั่วถึงธรรม อธิบายว่า ปัญหานั้นนั่นแหละ เป็นธรรม
การวิสัชนา เป็นอรรถ บุคคลรู้ คือ ทราบ เทียบเคียง พิจารณา ทำให้กระจ่าง
ทำให้แจ่มแจ้งอรรถแล้ว รวมความว่า รู้ทั่วถึงอรรถ
คำว่า รู้ทั่วถึงธรรม ได้แก่ รู้ คือ ทราบ เทียบเคียง พิจารณา ทำให้กระจ่าง
ทำให้แจ่มแจ้งธรรมแล้ว รวมความว่า รู้ทั่วถึงธรรม
คำว่า ปฏิบัติธรรมถูกต้องตามหลักธรรม อธิบายว่า ปฏิบัติข้อปฏิบัติชอบ
การปฏิบัติเหมาะสม การปฏิบัติที่ไม่เป็นข้าศึก การปฏิบัติที่เอื้อประโยชน์ การ
ปฏิบัติธรรมถูกต้องตามหลักธรรม รวมความว่า ปฏิบัติธรรมถูกต้องตามหลักธรรม
คำว่า ก็จะพึงถึงฝั่งแห่งชราและมรณะได้แน่นอน อธิบายว่า อมตนิพพาน
ตรัสเรียกว่า ฝั่งแห่งชราและมรณะ ได้แก่ ธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง เป็นที่
สลัดทิ้งอุปธิทั้งหมด เป็นที่สิ้นตัณหา เป็นที่คลายกำหนัด เป็นที่ดับกิเลส เป็นที่
เย็นสนิท
คำว่า ก็จะพึงถึงฝั่งแห่งชราและมรณะได้แน่นอน อธิบายว่า พึงถึงฝั่ง คือ
บรรลุฝั่ง ถูกต้องฝั่ง ทำให้แจ้งฝั่งแห่งชราและมรณะได้แน่นอน รวมความว่า ก็จะ
พึงถึงฝั่งแห่งชราและมรณะได้แน่นอน
คำว่า ธรรมเหล่านี้เป็นเหตุให้ถึงฝั่ง อธิบายว่า ธรรมเหล่านี้เป็นเหตุให้ถึงฝั่ง
คือ ให้บรรลุฝั่ง ให้บรรลุถึงฝั่ง ให้ตามบรรลุถึงฝั่ง ย่อมเป็นไปเพื่อข้ามชราและมรณะ
รวมความว่า ธรรมเหล่านี้เป็นเหตุให้ถึงฝั่ง
คำว่า เพราะเหตุดังกล่าวมานี้นั้น ในคำว่า เพราะเหตุดังกล่าวมานี้นั้น
ธรรมบรรยายนี้ อธิบายว่า เพราะเหตุดังกล่าวมานี้นั้น คือ เพราะการณ์นั้น
เพราะเหตุนั้น เพราะปัจจัยนั้น เพราะต้นเหตุนั้น รวมความว่า เพราะเหตุดังกล่าว
มานี้นั้น
คำว่า ธรรมบรรยายนี้ ได้แก่ ปารายนวรรคนี้ รวมความว่า เพราะเหตุดัง
กล่าวมานี้นั้น ธรรมบรรยายนี้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :335 }